วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คลินิกโรคจากการทำงาน

สามารถเข้ารับบริการได้ที่ คลินิกโรคจากการทำงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม อาคารวิเคราะห์วิจัยบำบัด ชั้น 2  หรือติดต่อสอบถามที่หมายเลข 042711615 ต่อ 2382 ในวันเวลาราชการ
* จัดบริการตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงาน ระหว่างงานและออกจากงาน
* ครวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ
* เฝ้าระวังและป้องกันโรค / อุบัติเหตุจากการทำงาน
* ให้คำปรึกษาและส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแก่สถานประกอบการ
* ประสานสนับสนุนดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวกับพรบ.เงินทดแทน และพรบ.คุ้มครองแรงงาน
        
      สำหรับผู้ประกันตนที่ถือบัตรรับรองสิทธิกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน และแพทย์ผู้ทำการตรวจวินิจฉัยสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จะส่งต่อไปยังคลินิกโรคจากการทำงานหากผลวินิจฉัยไม่ได้เจ็บป่วยจากการทำงาน สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ตามปกติ แต่หากวินิจฉัยแล้วเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างแจ้งการประสบอันตรายต่อกองทุนเงินทดแทนตามแบบกท.16และมีหนังสือส่งตัว กท.44ไปยังโรงพยาบาลจะสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากกองทุนเงินทดแทน โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่

        กรณีผู้ประกันตนที่ถือบัตรรับรองสิทธิกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาลอื่น หากสงสัยว่าเจ็บป่วย ด้วยโรคจากการทำงาน สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดทำหนังสือส่งตัวมายังคลินิกโรคจากการทำงาน เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานหรือไม่ หากผลการตรวจวินิจฉัยปรากฏว่าลูกจ้างไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ค่าตรวจวินิจฉัยจะเบิกจ่ายจากเงินโครงการที่สนับสนุนให้แก่โรงพยาบาล หากตรวจวินิจฉัยแล้วเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และนายจ้างมีหนังสือส่งตัวกท.44ไปยังโรงพยาบาล สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากกองทุนเงินทดแทน โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)

ขอบเขตการให้บริการ

                 
1.   ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจากการประกอบอาชีพและโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
2.   เฝ้าระวังสุขภาพผู้ปฏิบัติงานทั้งในและนอกโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ
2.1     ตรวจสุขภาพประจำปีข้าราชการ
2.2       ตรวจสุขภาพประจำปี แรงงานต่างด้าว
2.3       ตรวจสุขภาพผู้หางานไปทำงานต่างประเทศ
2.4       ตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ
3.  ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทั้งในโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ
3.1       ตรวจสมรรถภาพการมองเห็น
3.2       ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
3.3       ตรวจสมรรถภาพปอด
4.    ตรวจสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและสถานประกอบการ
4.1       ตรวจวัดแสง
4.2       ตรวจวัดเสียง
4.3       ตรวจวัดความร้อน
4.4       ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย
         5.    ออกหน่วยเคลื่อนที่
5.1       ให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ประกันสังคม
5.2       ให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน
                 6.  บริการสร้างเสริมสุขภาพ  ควบคุมป้องกันโรค  รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ  ในรูปแบบของงานอาชีว
                        อนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมแก่ผู้ประกอบอาชีพทุกสาขา
                 7.     เฝ้าระวังสุขภาพกลุ่มประชากรที่ได้รับมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
                 8.     ดำเนินการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินของอุบัติภัยสารเคมี
                 9.     ดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติต่างๆ เช่น  พระราชบัญญัติ
                        เงินทดแทน  พระราชบัญญัติสาธารณสุข  เป็นต้น
10.    ให้บริการทางวิชาการและข้อมูลสารสนเทศ  แก่หน่วยงาน/บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป
11.     เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่องค์กรภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมป้องกันหรือควบคุมป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป้าหมาย
12.    ศึกษา  วิเคราะห์  ประเมินผล  วิจัยและพัฒนา  เพื่อบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ด้านอาชีวอนามัย  เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม  และด้านพิษวิทยา