วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการปฏิบัติในการเข้าบริการของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร


                ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสำคัญเป็น อย่างมาก เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มและความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกปี โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพเกิดขึ้นได้จึงท าให้หน่วยงานสาธารณสุขควรมีการให้ความส าคัญในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่าเหตุการณ์มลพิษทางสิ่งแวดล้อมในอดีต เช่น ปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัญหาหมอกควันไฟป่าในภาคเหนือ ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในน้ำและดิน กรณีสารตะกั่วปนเปื้อนห้วยคลิตี้จังหวัดกาญจนบุรี สารแคดเมียมปนเปื้อนในดินและข้าว จังหวัดตาก ปัญหาไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งมลพิษ ได้รับสัมผัสสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในอนาคต โรงพยาบาลศูนย์สกลนครจึงมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบ ทางสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือ งบประมาณ และองค์ความรู้ที่ใช้ในการ เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจากการรับสัมผัสมลพิษสิ่งแวดล้อมโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้าน ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กลไกการเกิดโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม การค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ การประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ การสอบสวนโรค ฯลฯ ซึ่งสามารถเรียกกระบวนการท างาน ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมว่า “กำรจัดบริการเวชกรรม สิ่งแวดล้อม(Environmental Medicine)”ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้หน่วยงานทางด้าน สาธารณสุขสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีแนวทางการปฏิบัติในการเข้าบริการของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ดังนี้






วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร


             การจัดบริการทางเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นความร่วมมือกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วย แพทย์โดยเฉพาะแพทย์อาชีวเวชกรรมและสิ่งแวดล้อม พยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลอาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อม นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรสิ่งแวดล้อม นักระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อม นักพิษวิทยา สิ่งแวดล้อม นักสุขศึกษา เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย นโยบายและโครงสร้างการจัดการแต่ละระดับ กฎหมายและการบังคับใช้ ระบบการจัดบริการ ทางเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพก่อนการด าเนินโครงการ (HIA )การเตรียมการรองรับอุบัติภัยการพัฒนาบุคลากรในแต่ละ ระดับ การสื่อสารประชาสัมพันธ์และการหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาและป้องกัน
             บทบาทหลักในการด าเนินงานด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การประเมินและการจัดการความเสี่ยง ทางสุขภาพ (Health risk assessment and management) การผลักดันและสนับสนุนนโยบาย (Policy development) และการควบคุมคุณภาพ (Quality assurance) กิจกรรมหลักในกำรจัดบริกำรเวชกรรมสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้ 
กิจกรรมหลักในกำรจัดบริกำรเวชกรรมสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้


วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คลินิกโรคจากการทำงาน

สามารถเข้ารับบริการได้ที่ คลินิกโรคจากการทำงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม อาคารวิเคราะห์วิจัยบำบัด ชั้น 2  หรือติดต่อสอบถามที่หมายเลข 042711615 ต่อ 2382 ในวันเวลาราชการ
* จัดบริการตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงาน ระหว่างงานและออกจากงาน
* ครวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ
* เฝ้าระวังและป้องกันโรค / อุบัติเหตุจากการทำงาน
* ให้คำปรึกษาและส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแก่สถานประกอบการ
* ประสานสนับสนุนดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวกับพรบ.เงินทดแทน และพรบ.คุ้มครองแรงงาน
        
      สำหรับผู้ประกันตนที่ถือบัตรรับรองสิทธิกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน และแพทย์ผู้ทำการตรวจวินิจฉัยสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จะส่งต่อไปยังคลินิกโรคจากการทำงานหากผลวินิจฉัยไม่ได้เจ็บป่วยจากการทำงาน สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ตามปกติ แต่หากวินิจฉัยแล้วเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างแจ้งการประสบอันตรายต่อกองทุนเงินทดแทนตามแบบกท.16และมีหนังสือส่งตัว กท.44ไปยังโรงพยาบาลจะสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากกองทุนเงินทดแทน โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่

        กรณีผู้ประกันตนที่ถือบัตรรับรองสิทธิกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาลอื่น หากสงสัยว่าเจ็บป่วย ด้วยโรคจากการทำงาน สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดทำหนังสือส่งตัวมายังคลินิกโรคจากการทำงาน เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานหรือไม่ หากผลการตรวจวินิจฉัยปรากฏว่าลูกจ้างไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ค่าตรวจวินิจฉัยจะเบิกจ่ายจากเงินโครงการที่สนับสนุนให้แก่โรงพยาบาล หากตรวจวินิจฉัยแล้วเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และนายจ้างมีหนังสือส่งตัวกท.44ไปยังโรงพยาบาล สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากกองทุนเงินทดแทน โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/เขตพื้นที่ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)

ขอบเขตการให้บริการ

                 
1.   ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจากการประกอบอาชีพและโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
2.   เฝ้าระวังสุขภาพผู้ปฏิบัติงานทั้งในและนอกโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ
2.1     ตรวจสุขภาพประจำปีข้าราชการ
2.2       ตรวจสุขภาพประจำปี แรงงานต่างด้าว
2.3       ตรวจสุขภาพผู้หางานไปทำงานต่างประเทศ
2.4       ตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนในสถานประกอบการ
3.  ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทั้งในโรงพยาบาลและในสถานประกอบการ
3.1       ตรวจสมรรถภาพการมองเห็น
3.2       ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
3.3       ตรวจสมรรถภาพปอด
4.    ตรวจสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและสถานประกอบการ
4.1       ตรวจวัดแสง
4.2       ตรวจวัดเสียง
4.3       ตรวจวัดความร้อน
4.4       ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย
         5.    ออกหน่วยเคลื่อนที่
5.1       ให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ประกันสังคม
5.2       ให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน
                 6.  บริการสร้างเสริมสุขภาพ  ควบคุมป้องกันโรค  รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ  ในรูปแบบของงานอาชีว
                        อนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมแก่ผู้ประกอบอาชีพทุกสาขา
                 7.     เฝ้าระวังสุขภาพกลุ่มประชากรที่ได้รับมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
                 8.     ดำเนินการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินของอุบัติภัยสารเคมี
                 9.     ดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติต่างๆ เช่น  พระราชบัญญัติ
                        เงินทดแทน  พระราชบัญญัติสาธารณสุข  เป็นต้น
10.    ให้บริการทางวิชาการและข้อมูลสารสนเทศ  แก่หน่วยงาน/บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป
11.     เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่องค์กรภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมป้องกันหรือควบคุมป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป้าหมาย
12.    ศึกษา  วิเคราะห์  ประเมินผล  วิจัยและพัฒนา  เพื่อบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ด้านอาชีวอนามัย  เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม  และด้านพิษวิทยา