วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการปฏิบัติในการเข้าบริการของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร


                ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสำคัญเป็น อย่างมาก เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มและความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกปี โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพเกิดขึ้นได้จึงท าให้หน่วยงานสาธารณสุขควรมีการให้ความส าคัญในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่าเหตุการณ์มลพิษทางสิ่งแวดล้อมในอดีต เช่น ปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัญหาหมอกควันไฟป่าในภาคเหนือ ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในน้ำและดิน กรณีสารตะกั่วปนเปื้อนห้วยคลิตี้จังหวัดกาญจนบุรี สารแคดเมียมปนเปื้อนในดินและข้าว จังหวัดตาก ปัญหาไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งมลพิษ ได้รับสัมผัสสารมลพิษเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในอนาคต โรงพยาบาลศูนย์สกลนครจึงมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบ ทางสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือ งบประมาณ และองค์ความรู้ที่ใช้ในการ เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนจากการรับสัมผัสมลพิษสิ่งแวดล้อมโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ในด้าน ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กลไกการเกิดโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม การค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ การประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ การสอบสวนโรค ฯลฯ ซึ่งสามารถเรียกกระบวนการท างาน ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมว่า “กำรจัดบริการเวชกรรม สิ่งแวดล้อม(Environmental Medicine)”ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้หน่วยงานทางด้าน สาธารณสุขสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีแนวทางการปฏิบัติในการเข้าบริการของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ดังนี้






วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร


             การจัดบริการทางเวชกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นความร่วมมือกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วย แพทย์โดยเฉพาะแพทย์อาชีวเวชกรรมและสิ่งแวดล้อม พยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลอาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อม นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรสิ่งแวดล้อม นักระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อม นักพิษวิทยา สิ่งแวดล้อม นักสุขศึกษา เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย นโยบายและโครงสร้างการจัดการแต่ละระดับ กฎหมายและการบังคับใช้ ระบบการจัดบริการ ทางเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพก่อนการด าเนินโครงการ (HIA )การเตรียมการรองรับอุบัติภัยการพัฒนาบุคลากรในแต่ละ ระดับ การสื่อสารประชาสัมพันธ์และการหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาและป้องกัน
             บทบาทหลักในการด าเนินงานด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การประเมินและการจัดการความเสี่ยง ทางสุขภาพ (Health risk assessment and management) การผลักดันและสนับสนุนนโยบาย (Policy development) และการควบคุมคุณภาพ (Quality assurance) กิจกรรมหลักในกำรจัดบริกำรเวชกรรมสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้ 
กิจกรรมหลักในกำรจัดบริกำรเวชกรรมสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้